Welcome Guest, please login or register.


ผู้เขียน หัวข้อ: ศิลปะในการแปล  (อ่าน 1432 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ล่ามฝึกหัด

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 187
  • พลังน้ำใจ: 5

ศิลปะในการแปล
« เมื่อ: 29 พ.ย. 16, 09:47 »
ขอคำปรึกษาด้วยคะ

ล่ามๆอย่างเราพอจะมีวิธีในการแปลให้ฟังแล้วรื่นหูไหมคะ ต้องใช้ศิลปะในการพูดมากน้อยแค่ไหนคะ





ออฟไลน์ Uzumaki

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 45
  • พลังน้ำใจ: 12
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 พ.ย. 16, 10:34 »
แปลให้รื่นหู..
เราว่ามีหลายปัจจัยนะคะ หลักๆมาจากความเข้าใจในเนื้องาน ศัพท์เฉพาะ ถ้าเราเข้าใจงาน เข้าใจศัพท์ที่คนที่นั่นใช้กัน เราจะถ่ายทอดอออกมาได้เป็นธรรมชาติ เข้าใจง่าย ส่วนการเรียบเรียงประโยคหรือการเลือกใช้คำอันนี้ต้องอ่านหนังสือบ่อยๆ เจอประโยค การใช้คำที่หลากหลายแล้วเราจะมีรูปแบบประโยค คลังคำให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมค่ะ
อีกอย่างที่สำคัญคือ สภาพจิตใจตอนแปลค่ะ ตื่นเต้นไหม ลนหรือเปล่า บางครั้งความกดดันมันก็ทำให้เราพูดอะไรแปลกๆ แข็งๆ ฟังแล้วไม่เป็นธรรมชาติออกไปค่ะ


ออฟไลน์ แมวปิ้ง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 673
  • พลังน้ำใจ: 157
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 1 ธ.ค. 16, 13:47 »
ศิลปะในการแปลเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน

แต่ที่สำคัญคือการเตรียมเครื่องมือให้พร้อม อันได้แก่ "สี, พู่กัน, ผ้าใบ และน้ำมันหล่อลื่น" ครับ

ออฟไลน์ Uzumaki

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 45
  • พลังน้ำใจ: 12
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 1 ธ.ค. 16, 14:04 »
เราเตรียมspareสีข้างไว้ตลอดเลยค่ะ
ถู แถ ไปเรื่อยๆ 555

ออฟไลน์ ล่ามฝึกหัด

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 187
  • พลังน้ำใจ: 5
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 1 ธ.ค. 16, 15:22 »
ศิลปะในการแปลเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน

แต่ที่สำคัญคือการเตรียมเครื่องมือให้พร้อม อันได้แก่ "สี, พู่กัน, ผ้าใบ และน้ำมันหล่อลื่น" ครับ

สีนี่มีตลอด ถลอกหมดแล้ว 555

ออฟไลน์ แมวปิ้ง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 673
  • พลังน้ำใจ: 157
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 1 ธ.ค. 16, 16:05 »
เราเตรียมspareสีข้างไว้ตลอดเลยค่ะ
ถู แถ ไปเรื่อยๆ 555

สีถลอกแล้ว ก็เอาปี้ปผสมสีคลุมหัวไงครับ จะได้ใช้ประโยชน์จากปี้ปเปล่าที่เหลือได้คุ้มค่า  :wanwan02:

ปล. หากระทู้แบบมีสาระที่เคยโพสไว้อยู่ แต่ยังหาไม่เจอ, ไว้เจอแล้วจะมาแปะให้นะครับ

ออฟไลน์ แมวปิ้ง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 673
  • พลังน้ำใจ: 157
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 1 ธ.ค. 16, 17:01 »
เจอแบบมีสาระแล้วครับ

การแปลให้ลื่นหูเข้าใจง่าย ส่วนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการเรียงลำดับคำในประโยค ลองไปศึกษาจากกระทู้นี้ดูนะครับ

http://towaiwai.com/index.php?topic=18801.msg42899#msg42899

ออฟไลน์ ล่ามซุง

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 77
  • พลังน้ำใจ: 5
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 2 ธ.ค. 16, 09:24 »
 ถ้าเป็นเรื่องที่ชินและเข้าใจเนื้อหาจะแปลได้รื่นหู แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ชำนาญมีคนเก่งภาษาอยู่ในนั้น
จะกลายเป็นคนพูดจาไม่รู้เรื่อง พยายามฝึกฝน แต่ยังไม่เก่งพอที่จะแปลให้รื่นหูได้ :wanwan02:

ออฟไลน์ デスノート

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 920
  • พลังน้ำใจ: 120
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 12 ธ.ค. 16, 20:26 »
มีสุภาษิตโบราณว่า "ความรู้อาจเรียนทันกันหมด"
ใครจะจบ ป.ตรี ป.โท ป.เอก  แล้วเราค่อย ๆ เรียนไป เราก็สามารถจบตามเขาได้ นี่คือ "ความรู้อาจเรียนทันกันหมด"
อีกคำหนึ่ง คือ "ศาสตร์และศิลป์"
ที่เกริ่นมาตอนนี้ คือ "ศาสตร์" ความรู้ของ 通訳・翻訳 ก็มีตายตัวแค่ว่า "แปลจากภาษาต้นทาง เป็นภาษาปลายทาง"
แต่จะแปลได้ดีมากน้อยแค่ไหน อันนี้ เป็น "ศิลป์"
ศิลปะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีที่สิ้นสุด เป็น "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" เป็นการฝึกตัวเองให้เป็น "จอมยุทธสูงสุดคืนสู่สามัญ"
เมื่อแรกที่คุณเรียนภาษาญี่ปุ่น คุณจะขยันจำ "ไวยากรณ์"  แต่เมื่อคุณเข้าทำงาน คุณจะค่อย ๆ ลืมไวยากรณ์ (เหมือนเวลาเขาผูกนั่งร้านสร้างตึก พอตึเสร็จ เขาก็รื้อนั่งร้านทิ้ง)
เมื่อคุณชำนาญงานแล้ว คุณก็ไม่ต้องกลับมากังวลเรื่องไวยากรณ์ อันนี้เป็น "ศิลป์"
ปัญหาอยู่ที่ว่า จะมี "ศิลป์" ได้ดีอย่างไร ก็ต้องถามว่า คุณมี "อิทธิบาทสี่" แค่ไหน?
ทื้งท้ายไว้แค่นี้ ถ้าใครอยากรู้อีก ถามมา จะได้ตอบให้ติดตาม "ตอนต่อไป" つヾき

ออฟไลน์ อุ๊เหม่ ล่ามอิสระ

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
  • พลังน้ำใจ: 1
Re: ศิลปะในการแปล
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 13 ธ.ค. 16, 08:29 »
ไม่ยากครับ ฝึกสำเนียงให้พูดได้แบบคนญี่ปุ่นครับ ถึงไม่เก่ง สำเนียงได้ก็สบายหูคนฟังครับ