Welcome Guest, please login or register.


ผู้เขียน หัวข้อ: ขอคำปรึกษา : อยากเปลี่ยนสายงานมาเป็นล่าม/นักแปล  (อ่าน 2260 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ vvva

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
  • พลังน้ำใจ: 0

ที่ตัดสินใจตั้งกระทู้เพราะอยากได้ความคิดเห็นหรือคำแนะนำจากหลายๆคนค่ะ

ท้าวความซักเล็กน้อยแล้วกันเนอะ
ปัจจุบันอายุ30แล้วค่ะ(เกิดปี29) ตอนนี้ทำงานเกี่ยวกับเสื้อผ้า(garment) คือออกแบบเสื้อให้กับbrandในห้างค่ะ
ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ2ปีก่อน เคยมีความคิดอยากเปลี่ยนสายงานเพราะรู้สึกว่างานที่ทำอยู่เหมือนทำแบบฝืนใจยังไงไม่รู้
เหมือนไม่ได้ชอบมาก(เคยจะซิ่วตั้งแต่สมัยอยู่ปี3ด้วย) แต่ก็ล้มเลิกไปเพราะยังหาไม่เจอว่าอยากทำอะไรแทน

จนมาเมื่อปลายปี59 ได้รู้จักกับเพื่อนล่ามญี่ปุ่น ก็เลยสนใจงานสายนี้ขึ้นมา เพราะส่วนตัวก็ชอบภาษาญี่ปุ่นอยู่แล้ว(เคยเรียนเมื่อ10ปีก่อนด้วย) จึงตั้งเป้าหมายและเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นที่สสท.ค่ะ
เรียนมาได้ 2 คอร์สแล้ว อยู่มินนะเล่ม 2 บทที่15 (เด็กน้อยมาก)
แต่เราก็ไม่ได้หวังพึ่งแค่การเรียนในห้องนะคะ
ระหว่างสัปดาห์ก็จะอ่านบทอื่น หรือไวยากรณ์อื่นๆล่วงหน้า พยายามทำแบบฝึกหัดผ่าน app และท่องศัพท์อยู่เรื่อยๆ

เพื่อนๆคิดว่าโอกาสที่เราจะทำงานสายนี้ กับการเริ่มเรียนที่อายุเท่านี้มันคุ้มเสี่ยงมั้ยคะ
ตอนนี้คิดหนักเหมือนกันค่ะว่าจะไม่ทันกิน เพราะเห็นหลายๆบริษัทมักจะรับอายุไม่เกิน 35
กลัวจะหางานยากเพราะกว่าจะเรียนจนใช้งานได้ก็คงอายุ 35 พอดี แถมไม่มีประสบการณ์อีก

คิดว่าไงกันบ้างคะ ขอคำแนะนำแบบไม่ต้องเกรงใจเลยค่ะ ^^  :wanwan09:




ออฟไลน์ แมวปิ้ง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 673
  • พลังน้ำใจ: 157
สิ่งที่ยากที่สุดของการเป็นล่ามคือ "การเข้าใจเนื้อหางาน" และ "ศิลปะในการสื่อสาร" ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนรู้สะสมประสบการณ์กันไปครับ

เหมือนกับเวลามีคนมาถามทาง ถ้าเป็นเส้นทางที่เรารู้จักดีอยู่แล้วเราก็สามารถอธิบายเค้าได้โดยง่าย แต่ถ้าเป็นเส้นทางที่เราไม่รู้จักเลยต่อให้มีผู้รู้บอกมา เราก็คงอธิบายต่อได้ลำบากอยู่ดี

ฉะนั้นผมขอแนะนำว่าให้เริ่มจากงานที่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงาน (Sale-co, Admin JPN speaking ฯลฯ) ไปก่อน แล้วระหว่างนั้นก็ทำงานสะสมประสบการณ์ไปสัก 2-3 ปี พร้อมกันเรียนภาษาญี่ปุ่นไปด้วยให้สอบให้ผ่านอย่างน้อย N3 แต่จะให้ดีควร N2 ขึ้นไป แล้วหลังจากนั้นค่อยลองไปทำล่ามดูได้ครับ

อย่าเพิ่งก้าวกระโดดไปทำล่ามเลยทันที มิเช่นนั้น อาจจะเครียดเวลาเจองานที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจได้, แต่ถ้าคิดว่าตนเองเป็นคนรับสภาวะเครียดได้ดี+มีความสามารถในการเรียนรู้สูง จะลองกระโดดไปทำล่ามดูเลยก็ได้ครับ

จะเลือกทางไหนก็เอาใจช่วยนะครับ สู้ๆ ครับ

ออฟไลน์ dmsglcf

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 17
  • พลังน้ำใจ: 8
ขอแนะนำลักษณะนี้ครับ

การเป็นล่าม อย่างที่คุณ vvva น่าจะทราบอยู่แล้ว
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดเลย คือเรียกได้ว่าเป็นเงื่อนไขพื้นฐานในงานนี้เลย
คือ "ภาษา" ครับ

จากประสบการณ์ที่เจอมา ผมประสบทั้งล่ามที่เน้น "ภาษา" และล่ามที่เน้น "เข้าใจงาน"
แต่ผมมักจะเทความได้เปรียบ (Advantages) ไปที่ล่ามที่เน้น "ภาษา" มากกว่า

ที่นี้จากรายละเอียดที่คุณแจ้งไว้ ผมคิดว่าอย่างแรกที่ทำ คือ ลุยภาษา ก่อนเลยครับ
ลุยภาษาแบบที่เรียกได้ว่า Intensive เรียกพี่ได้เลย
เพราะว่าจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ผ่านมาในสายงานล่ามของผม (อายุเท่าๆกับคุณ)
จะเห็นได้ว่า พี่ๆที่ทำงานจะสอนเต็มที่กว่าถ้าพนักงานใหม่ยังเด็กครับ
(คือสอนอ่ะสอนหมดแหละแต่ถ้าเด็กกว่าจะมีพลังเอ็นดูแอบแฝง)

ดังนั้นคุณต้องเน้นภาษาเพื่อทดแทนส่วนที่ (อาจจะและมีความเป็นไปได้สูงที่) จะขาดไปครับ
ถ้าจะเป็นล่ามแล้วยังอ่านมินนะอยู่ วางหนังสือเล่มนั้นได้เลยครับ
ไปหาหนังสืออย่างอื่นมาอ่านแทน อย่างเช่น

1. ไวยากรณ์ญี่ปุ่น 200 ประโยค / 500 ประโยค
2. คังเซ็นมาสเตอร์ N3, N2 ตามลำดับ

(หมายเหตุ: อ้างอิงเหตุผลจากด้านล่าง)

โดยกำหนดชีวิตตัวเองอย่างมีวินัยเสียหน่อย เสียเวลากับมันสักพัก
แล้วการเรียนภาษาจะไปได้อย่างไวเลยครับ

ผมแนะนำว่า...
อ่านไวยากรณ์ 45 นาที/วัน (ตั้งเป้าหมายไว้เลยว่าวันละบท)
อ่านบทความ/ข่าว 15-20 นาที/วัน (เอาที่ตัวเองสนใจ (สำคัญ) อย่าไปอ่านข่าวพวกการเมือง ข่าวอาชญากรรมนะครับ
ไม่ใช่ว่าหดหู่นะ แต่คำศัพท์มักยาก)
อ่านคำศัพท์ 10-15 นาที/วัน (เอาเท่าที่จำได้ ไม่จำกัดจำนวนคำ)
ฝึก/จำคันจิ 10-15 นาที/วัน (เอาเท่าที่จำได้ ไม่จำกัดจำนวนตัว)

ทำเท่านี้ไป รับรองก่อนคุณ 31 คุณผ่าน N2 ชัวร์
(ขึ้นอยู่กับเดือนที่คุณเกิดด้วยนะครับ)
**N2 หรือผลการสอบไม่ใช่สิ่งจำเป็นนะครับ ผมหมายถึงว่าคุณจะมี
   ความสามารถเท่าเทียมกับระดับประมาณนี้


ส่วนเรื่องการฝึกในด้านอื่น แนะนำให้ฝึกพูดพร้อมครับ
พูดพร้อมหมายถึง เมื่อเราฟังคนอื่นพูด หรือคุยกับใคร ให้คุยกับเค้าปกติ
ไม่ต้องพูดตามก็ได้ แต่ให้เพิ่มโปรเซสการพูดตามมาในสมองเรา เช่น

นาย A: เห้ย แก พรุ่งนี้ไปพารากอนกัน
นาย B: (ในเวลาที่ไล่เรี่ยกัน ช้ากว่านาย A คำละประมาณ 1 วินาที
          คิดตามไปว่า เห้ย แก พรุ่งนี้ไปพารากอนกัน)
          ไปทำอะไรวะ?

สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องตอบและสนทนาได้กลับไปเหมือนปกตินะครับ
เพราะถ้าพูดเปล่งเสียงตามเค้าอาจหาว่าคุณกวน แต่ถ้าคิดในสมองเพลิน
ลืมตอบ มันก็จะไม่ได้ผลเท่าไหร่ อาจจะยากหน่อยในช่วงแรกๆ

ท้ายที่สุด ให้ทำใจไว้ครับ ทำงานยังไงก็เครียด ล่ามไม่ได้เครียดมากกว่าอาชีพอื่นเท่าไหร่ในความคิดผม
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เพื่อนร่วมงาน และหัวหน้าเช่นกัน
ให้ฝึกทำใจไว้ก่อนว่า คนเราทำงานแล้วมีพลาดได้ทั้งนั้น หากพลาดให้จำแล้วเดินต่อ
อันนี้คือสิ่งสำคัญมากในการเป็นล่ามนะครับ ไม่งั้นถ้าพลาดแล้ว dead air เงียบไปเลย
งานอาจจะล่มได้ (ผมเคยเป็น และทุกคนก็อาจจะ/น่าจะเคยเป็น)

ท้ายที่สุด อยากให้ลองคิดสาเหตุที่จะทำงานใดๆ อีกครั้ง
การทำงานแล้วรู้สึกไม่ฝืนนี่มัน Ideal work มากๆ ครับ
แต่ในชีวิตจริงผมว่าคงมีไม่กี่คนที่ทำงานบริษัทแล้วไม่ฝืน
ไม่ว่าอาชีพไหน ไม่ว่าตำแหน่งไหน ฝืนหมดแหละครับ
ลองหาเป้าหมายที่ตัวเองเล็งไว้ แล้วหาวิธีเข้าใกล้เป้าหมายนั้นดูนะครับ

(ผลเป็นล่าม แต่ผมโคตรไม่ชอบอาชีพนี้เลย ที่ทำเพราะรายได้ล้วนๆ)

ขอให้โชคดี มีอะไรถามเกี่ยวกับไวยากรณ์ หรือภาษาญี่ปุ่นทักหลังไมค์มาถามได้ครับ

----------------------------------------------

สาเหตุที่แนะนำหนังสือ

ไม่ใช่ว่าผมไม่ชอบมินนะนะครับ แต่ผมมองว่าหากจะเรียนรู้ด้วยตนเอง
และเป็นการเรียนรู้ภาษา การจัดสรรค์เวลาและกำลังใจตนเองเป็นสิ่งสำคัญครับ

ผมเรียนโดยไม่เคยจับมินนะ และเมื่อลองไปอ่านดู ก็มีหลายอย่างที่ ณ ตอนนั้นผมไม่รู้นะครับ
แต่ผมรู้สึกว่าอ่านมินนะแล้วน่าเบื่อมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก
ผมเลยมองว่าการไปอ่านหนังสือไวยากรณ์จ๋าเลย แต่อ่านไม่นาน
แล้วเอาเวลาไปอ่านอย่างอื่น เช่น บทความ ฯลฯ จะช่วยให้ self-learning ได้ดีกว่าครับ

edit: เพิ่มประโยคสีเขียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ม.ค. 17, 09:48 โดย dmsglcf »

ออฟไลน์ แมวปิ้ง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 673
  • พลังน้ำใจ: 157
ที่คุณ dmsglcf แนะนำมาก็เป็นเรื่องที่ดีครับ แน่นอนว่าภาษาเป็นสิ่งสำคัญ แต่ขอยืนยันว่าเป็นเพียงแค่ "องค์ประกอบส่วนหนึ่ง" ของการเป็นล่ามเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด

ซึ่งองค์ประกอบสำหรับการเป็นล่ามไทย-ญี่ปุ่นมีด้วยกันทั้งหมด 4 ข้อ
1. ทักษะภาษาไทย
2. ทักษะภาษาญี่ปุ่น
3. ทักษะการสื่อสาร
4. ความเข้าใจเนื้อหางาน

สำหรับรายละเอียดลองเข้าไปดูจากกระทู้นี้ได้ครับ
http://towaiwai.com/index.php?topic=22214.msg51627#msg51627


ผมเห็นล่ามมาหลายคน เสียทั้งเงินและเวลาไปกับการทุ่มเทเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่ลืมมองหรือฝึกฝนองค์ประกอบอื่นๆ ทำให้ไม่สำเร็จในสาขาอาชีพล่ามเท่าที่ควรครับ

ดังนั้นหมายความว่า ถ้าคุณ vvva ตั้งใจจะเป็นล่าม นอกจากควรจะฝึกตามที่คุณ dmsglcf แนะนำแล้ว, ควรจะต้องฝึกด้านอื่นๆ ไว้ให้พร้อมด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ม.ค. 17, 09:59 โดย แมวปิ้ง »

ออฟไลน์ vvva

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
  • พลังน้ำใจ: 0
สิ่งที่ยากที่สุดของการเป็นล่ามคือ "การเข้าใจเนื้อหางาน" และ "ศิลปะในการสื่อสาร" ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนรู้สะสมประสบการณ์กันไปครับ

เหมือนกับเวลามีคนมาถามทาง ถ้าเป็นเส้นทางที่เรารู้จักดีอยู่แล้วเราก็สามารถอธิบายเค้าได้โดยง่าย แต่ถ้าเป็นเส้นทางที่เราไม่รู้จักเลยต่อให้มีผู้รู้บอกมา เราก็คงอธิบายต่อได้ลำบากอยู่ดี

ฉะนั้นผมขอแนะนำว่าให้เริ่มจากงานที่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงาน (Sale-co, Admin JPN speaking ฯลฯ) ไปก่อน แล้วระหว่างนั้นก็ทำงานสะสมประสบการณ์ไปสัก 2-3 ปี พร้อมกันเรียนภาษาญี่ปุ่นไปด้วยให้สอบให้ผ่านอย่างน้อย N3 แต่จะให้ดีควร N2 ขึ้นไป แล้วหลังจากนั้นค่อยลองไปทำล่ามดูได้ครับ

อย่าเพิ่งก้าวกระโดดไปทำล่ามเลยทันที มิเช่นนั้น อาจจะเครียดเวลาเจองานที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจได้, แต่ถ้าคิดว่าตนเองเป็นคนรับสภาวะเครียดได้ดี+มีความสามารถในการเรียนรู้สูง จะลองกระโดดไปทำล่ามดูเลยก็ได้ครับ

จะเลือกทางไหนก็เอาใจช่วยนะครับ สู้ๆ ครับ


ขอบคุณคุณแมวปิ้งสำหรับคำแนะนำมากๆเลย มีความคิดจะหางานบริษัทญี่ปุ่นทำเหมือนกันค่ะเพราะคิดว่าอย่างน้อยคงจะได้ใช้หรือได้ฟังภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นอีกเยอะแต่ก็ยังไปไม่ถูกว่าจะตำแหน่งอะไรดี เพราะว่าจบสายศิลปกรรมมาด้วย ส่ง resume ไปก็คงไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าคนที่จบสายตรง แล้วยังมีเรื่องอายุและฐานเงินเดือนอีก แต่ก็เตรียมใจลดฐานเงินเดือนลงนะคะ แต่ให้เท่าเด็กจบใหม่เลยก็คงไม่ไหว  :wanwan34:

ออฟไลน์ dmsglcf

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 17
  • พลังน้ำใจ: 8
ที่คุณ dmsglcf แนะนำมาก็เป็นเรื่องที่ดีครับ แน่นอนว่าภาษาเป็นสิ่งสำคัญ แต่ขอยืนยันว่าเป็นเพียงแค่ "องค์ประกอบส่วนหนึ่ง" ของการเป็นล่ามเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด

ซึ่งองค์ประกอบสำหรับการเป็นล่ามไทย-ญี่ปุ่นมีด้วยกันทั้งหมด 4 ข้อ
1. ทักษะภาษาไทย
2. ทักษะภาษาญี่ปุ่น
3. ทักษะการสื่อสาร
4. ความเข้าใจเนื้อหางาน

สำหรับรายละเอียดลองเข้าไปดูจากกระทู้นี้ได้ครับ
http://towaiwai.com/index.php?topic=22214.msg51627#msg51627


ผมเห็นล่ามมาหลายคน เสียทั้งเงินและเวลาไปกับการทุ่มเทเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่ลืมมองหรือฝึกฝนองค์ประกอบอื่นๆ ทำให้ไม่สำเร็จในสาขาอาชีพล่ามเท่าที่ควรครับ

ดังนั้นหมายความว่า ถ้าคุณ vvva ตั้งใจจะเป็นล่าม นอกจากควรจะฝึกตามที่คุณ dmsglcf แนะนำแล้ว, ควรจะต้องฝึกด้านอื่นๆ ไว้ให้พร้อมด้วยครับ

ใช่แล้วครับ การเป็นล่ามไม่ใช่ใช้แค่ภาษาปลายทางอย่างเดียว
แต่ต้องมีความสามารถอื่นๆประกอบด้วย
เนื่องจากผมเห็นว่า คุณ vvva มีงานทำอยู่แล้วด้วย จึงคาดการณ์ว่า
น่าจะมีเวลาในการพัฒนาในหนทางสู่การเป็นล่ามค่อนข้างจำกัด
จึงแนะนำเน้นในการเรียนภาษาโดยส่วนใหญ่ครับ

จะมีอยู่ส่วนเดียวที่ผมเห็นต่างจากคุณแมวปิ้งครับ (สืบเนื่องจากกระทู้ที่แนบไว้)
ผมมองว่า ภาษาที่ล่าม มีอัตราส่วนความสำคัญสูงที่สุด
หรือหากพูดอีกแนวนึง เอาจากความคิดผมเลย คือ ไม่ควรถูกนับรวม กับหัวข้ออื่นๆครับ
เพราะควรจะต้องเป็นอยู่แล้ว เหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องมีในสายงานนี้

แต่ในทางกลับกัน เรื่องของทักษะภาษาไทย หรือ ทักษะการสื่อสาร
ผมมองเป็น สิ่งที่จำเป็นโดยพื้นฐานผู้ทำงานไม่ว่าแขนงใดๆ
หากเป็นการทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไปครับ

ดังนั้นเมื่อเราลองดูจุดหลักที่สุด (bottom line)
สิ่งที่สำคัญที่สุด ในมุมมองผม (แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จำเป็นนะครับ) คือ ภาษาญี่ปุ่นครับ
(หรือภาษาที่ล่ามนั่นเอง)

ส่วนตัวจากประสบการณ์ (อันน้อยนิด) ผมมักจะประสบ
ล่ามที่มีความสามารถระดับ N4 หรือเกือบๆ N3 แต่เข้าใจงาน
ล่ามแล้วประสบปัญหากับการทำงานมากกว่า
ล่ามที่มีความสามารถระดับ N2 หรือ N1 แต่ไม่เข้าใจงาน
(ย้ำอีกครั้งนะครับ ผมไม่ได้หมายถึงมีใบประกาศนะครับ หมายถึงความสามารถจริงๆ)

เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นดาบ 2 คมคือ การแปลไปตามที่ตัวเองเข้าใจครับ
คือเข้าใจงานว่าเป็นแบบนี้ ถึงแม้อีกฝ่ายพูดผิด แต่ด้วยความที่ตัวเองเข้าใจแบบถูก
ก็แปลเป็นแบบที่ถูกไป อาจเกิดความสันสน และสว่นฝ่ายพูดผิดก็ไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใจผิด

หรือฟังงานมาแบบเข้าใจยากๆ แต่ในคำอธิบายนั้น ผสมไปด้วยเนื้อหาละเอียดที่ผู้พูดจะสื่อถึง
แต่ด้วยที่สื่อกลางไม่เข้าใจ จึงสื่อออกไปตามความเข้าใจตนเอง
แบบนี้จะทำให้สารตกหล่นได้ครับ

และอีกอย่างคือ หากเราเน้นการล่ามโดยยึดพื้นฐานในความเข้าใจงาน
หากเราไม่เข้าใจงาน เราจะไปต่อได้ลำบากครับ

ที่แสดงความเห็นแตกต่างไม่ได้ตั้งใจจะล่วงเกินใดๆนะครับคุณแมวปิ้ง
แค่อธิบายมุมมองตนเองเท่านั้นครับผมมม :)

ออฟไลน์ แมวปิ้ง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 673
  • พลังน้ำใจ: 157
ไม่หรอกครับ แชร์ความคิดเห็นกันเยอะๆ จะได้เป็นประโยชน์กับทุกคนครับ :D


พอดีมีอีกกระทู้หนึ่ง แต่ไม่ได้แนบไว้ ผมได้บอกเกี่ยวกับจรรยาบรรณล่ามไว้ว่า

"ต้องเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดคิด แต่ต้องไม่แปลเกินหรือขาดจากสิ่งที่เค้าพูด" ครับ

.
.
.
.

#เพราะเราไม่ได้โชคดีที่จะเจอคนพูดรู้เรื่องเสมอไป   :pv11:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ม.ค. 17, 16:34 โดย แมวปิ้ง »

ออฟไลน์ แมวปิ้ง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 673
  • พลังน้ำใจ: 157
ขอบคุณคุณแมวปิ้งสำหรับคำแนะนำมากๆเลย มีความคิดจะหางานบริษัทญี่ปุ่นทำเหมือนกันค่ะเพราะคิดว่าอย่างน้อยคงจะได้ใช้หรือได้ฟังภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นอีกเยอะแต่ก็ยังไปไม่ถูกว่าจะตำแหน่งอะไรดี เพราะว่าจบสายศิลปกรรมมาด้วย ส่ง resume ไปก็คงไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าคนที่จบสายตรง แล้วยังมีเรื่องอายุและฐานเงินเดือนอีก แต่ก็เตรียมใจลดฐานเงินเดือนลงนะคะ แต่ให้เท่าเด็กจบใหม่เลยก็คงไม่ไหว  :wanwan34:

ไปสมัครเป็น Graphic Designer บริษัทเกมส์/โฆษณาที่ญี่ปุ่นโล้ดครับ.. อาชีพในฝันของผมเอง อิๆ

ออฟไลน์ vvva

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
  • พลังน้ำใจ: 0
ขอแนะนำลักษณะนี้ครับ

ขอบคุณคุณ dmsglcf มากๆด้วยเช่นกันค่ะ ซาบซึ้งกับคำแนะนำมากๆค่ะละเอียดมากๆ  :wanwan29:

เรื่องเรียนจาก minna ค่ะ คือจากที่ลองเรียนกับโรงเรียนสอนภาษามา2คอร์ส รู้สึกว่าการมีคนสอนมันทำให้เราเข้าใจ(ในบางเรื่อง)ได้ลึกกว่าอ่านเองเยอะเลยค่ะ
เทียบกับการท่องศัพท์บางคำ เวลาท่องเองกับเรียนในห้องความลึกซึ้งในคำศัพท์นั้นเวลาเรียนจากในห้องก็จะได้มากกว่า
แต่ตรงนี้ก็อาจจะเป็นเพราะอ่านเองแล้วหาประโยคตัวอย่างไม่มากพอก็ได้ค่ะ
เลยทำให้เข้าใจไม่เท่าในห้องเพราะในห้องเซนเซก็จะยกตัวอย่างการใช้ให้หลายๆประโยค

จะลองทำตามที่คุณ dmsglcf แนะนำนะคะ
ทุกวันนี้ทบทวนแบบ "ตามใจฉัน" มากไปหน่อย  :wanwan19:
ตอนนี้ได้ไกด์จากคุณ dmsglcf ดูเข้าท่ากว่ามากๆ

ส่วนเรื่องความฝืนใจในการทำงานก็เคยนั่งทบทวบกับตัวเองหลายครั้งเหมือนกันค่ะ ว่าเพราะอะไร แค่เบื่อรึป่าว
ก็ได้คำตอบให้ตัวเองว่าความเครียดจากงานปัจจุบันจะเกี่ยวกับยอดขายค่ะ เช่นออกแบบไปแล้วขายไม่ได้อะไรแบบนี้ซึ่งมันก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้ขายไม่ได้ ที่ควบคุมยากและไม่แน่นอน แต่งานด้านภาษาถ้าเราพัฒนาตัวเราให้แตกฉานได้ก็ดูจะควบคุมสถานการณ์ได้ พอจะคิดแบบนี้ได้มั้ยคะ จากมุมมองคนนอกวงการ 
:pv14:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ม.ค. 17, 18:11 โดย vvva »

ออฟไลน์ ZAPECENE

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 57
  • พลังน้ำใจ: 12
ปกติล่ามไม่ค่อยกำหนดอายุเหมือนอาชีพอื่นนะคะ HR อาจจะเขียนเอาไว้งั้นๆ แหละ
แต่ถ้าคุณแปลเก่ง มีเรี่ยวแรงเดินตามนายในไลน์ได้ปกติ ส่วนมากเค้าก็รับค่ะ
ยิ่งแก่ยิ่งเก๋าด้วยซ้ำไป ที่ทำงานเราก็มีคุณพี่ล่ามอายุมากเยอะ เทพๆ ทั้งนั้นค่ะ

แต่ถ้าเป็นอาชีพอื่นที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นประกอบ
อันนี้เห็นด้วยว่ามักจะกำหนดอายุไว้น้อย และเงินเดือนต่ำกว่าล่าม

IAMLAM

  • บุคคลทั่วไป
ลองได้ครับ ผมเองก็เป็นคนนึงที่เริ่มต้นช้าเช่นกัน
กรณีผมเริ่มตอนอายุ 25
พออายุ 27 ได้N2 ก็ตระเวนหางานเลย

พอได้มาจับงานล่ามจริงๆ อย่าคิดว่า ล่าม คือ ผู้แปล แต่เพียงเท่านั้น
หน้างานจะมีปัจจัยมากมาย ที่เข้ามารบกวนการแปลของคุณ
เช่น เสียงเครื่องจักร, อารมณ์เหวี่ยงของผู้คน, พูดไม่หยุดให้แปล แม้ตอนเราแปลก็ยังไม่หยุดพูด
คนไทยพูดไม่รู้เรื่อง ไม่มี根拠, คนญี่ปุ่นจ๋า ที่นิสัย วิธีคิดแบบญี่ปุ๊นญี่ปุ่นที่ไม่คิดจะปรับตัวเข้ากับคนไทยเลย
ความประหม่าในการแปลต่อหน้าคนหมู่มาก, 9ล9

ล่ามต้องรับมือกับปัจจัยเหล่านี้ให้ได้ครับ ลองดูครับ

...

ออฟไลน์ Yuttana

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 40
  • พลังน้ำใจ: 2
ถ้ามีพื้นฐานด้าน Garment ลองหางานพวกประสานงานในสาย Garment ดูไหมครับ ถ้าเป็นสายที่ตัวเองเคยทำน่าจะเรียนรู้ได้ไวครับ มีความรู้อยู่แล้ว ก็เรียนรู้คำศัพท์ นำมาใส่ในรูปประโยคครับ

ออฟไลน์ dmsglcf

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 17
  • พลังน้ำใจ: 8
#เพราะเราไม่ได้โชคดีที่จะเจอคนพูดรู้เรื่องเสมอไป

จริงครับ ฮ่าๆๆๆ
ทุกวันนี้ผมทรมานกับเรื่องนี้มากเหมือนกัน น่าจะเป็นเรื่องที่ลำบากที่สุดในการล่ามแล้ว
แต่ผมมองว่า ถ้าคนไทยพูดมาไม่รู้เรื่อง แต่เราแปลไปให้รู้เรื่อง ตัวคนรับข้อมูลก็จะไม่รู้ว่าต้นทางบกพร่อง
ทำให้คนหยุดพัฒนาได้นะครับ

เรื่องนี้ถ้าถกกันจริงคงยาว จริงๆผมว่าบริบทในการล่ามมีมากมายหลายอย่าง
แน่นอนหากไปทำฟรีแลนซ์ แปลแบบไม่รู้เรื่องไป คงไม่ได้รับเรียกอีก
แต่หากในบริษัทที่ตนเองสังกัดอยู่ การให้เพื่อนร่วมงานรู้ข้อเสียตัวเองเพื่อปรับปรุงก็เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อกันครับ

ยกเว้นแต่เวลาใกล้หมด แล้วจำเป็นต้องมีข้อสรุป อันนั้นก็อีกกรณีหนึ่ง
ซึ่งก็คือหนึ่งในพารามิเตอร์ที่ต้องพิจารณาครับ


ส่วนเรื่องความฝืนใจในการทำงานก็เคยนั่งทบทวบกับตัวเองหลายครั้งเหมือนกันค่ะ ว่าเพราะอะไร แค่เบื่อรึป่าว
ก็ได้คำตอบให้ตัวเองว่าความเครียดจากงานปัจจุบันจะเกี่ยวกับยอดขายค่ะ เช่นออกแบบไปแล้วขายไม่ได้อะไรแบบนี้ซึ่งมันก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้ขายไม่ได้ ที่ควบคุมยากและไม่แน่นอน แต่งานด้านภาษาถ้าเราพัฒนาตัวเราให้แตกฉานได้ก็ดูจะควบคุมสถานการณ์ได้ พอจะคิดแบบนี้ได้มั้ยคะ จากมุมมองคนนอกวงการ 

ความเครียดของล่ามก็มีนะครับ ซึ่ง (ในมุมมองผม) เป็นความเครียดที่น่าเบื่อกว่างานอื่นที่ทำ
ถึงแม้เราจะแตกฉานด้านภาษา เราก็โดนความเครียดในด้านอื่นๆ ได้ครับ เช่น
1. คนพูด พูดโคตรไม่รู้เรื่อง (เหมือนที่คุณแมวปิ้งบอก)
2. ล่าม แดกดันกันแข็งขันกัน (อันนี้เห็นได้บ่อย และน่ารำคาญมาก)
3. ประชุมที่ติดต่อกันเวลานานทำให้ล้าได้หนักมาก (แต่ก็ต้องแปลเพราะคืองาน)
4. คำศัพท์ที่เราไม่รู้ว่าจะมีอะไรมาเมื่อไหร่ (อันนี้แก้ไขไม่ยากเท่าที่ควร)
5. คนทะเลาะกันในที่ประชุม ด่ากันแล้วเราต้องแปล (สำหรับผมผมก็แปลไปตามนั้นแหละ)
6. ล่ามรุ่นพี่ หรือล่ามเดิมพยายามยัดเยียดอะไรให้ล่ามใหม่ๆ (อันนี้บางทีผมถือเป็นข้อเสียนะ)
และ ฯลฯ ฯลฯ อีกมากมายก่ายกองครับ

ล่ามผมมองว่า คนในอยากออกคนนอกอยากเข้าเหมือนกันนะ
ลองมาทำดูจะรู้สึกได้เลยว่า ความสามารถทางภาษา มันเป็นสิ่งที่เราแก้ไขจัดการได้เอง
แต่มันเป็นเปลือกหอยหนึ่งในชายหาดเท่านั้นครับ